องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว ขอเชิญชวนประชาชนหันมาคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อความสะดวกต่อการนำไปกำจัดหรือนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ และยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย โดยในแต่ละวันมีขยะเกิดขึ้นจากกิจวัตรประจำวันของทุกคนมากน้อยต่างกันไปจากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ถ้าคิดเป็นระดับชุมชนและหมู่บ้านแล้วจะมีปริมาณขยะในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบันพบว่าเริ่มมีปัญหาเรื่องสถานที่ทิ้งขยะมากขึ้นแล้ว เนื่องจากหน่วยงานที่นำขยะไปทิ้งปฏิบัติไม่ถูกหลักสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง รวมทั้งเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มากขึ้นอีกด้วย การคัดแยกขยะจึงถือเป็นอีกวิธีการที่สำคัญในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดมลพิษต่อโลกน้อยลง การคัดแยกขยะเพื่อให้สะดวกแก่การนำไปกำจัดหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ใหม่โดยทั่วไป แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ 1.ขยะย่อยสลายหรือขยะเศษอาหาร เป็นขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย มีความชื้นมาก ส่งกลิ่นเหม็นได้อย่างรวดเร็ว ขยะประเภทนี้กำจัดและนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยการหมักทำปุ๋ยใช้ในการเกษตรได้ เช่น เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ เปลือกไม้ เป็นต้น 2.ขยะรีไซเคิล หรือขยะยังใช้ได้ ขยะประเภทนี้บางส่วนสามารถแยกนำมาแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ เป็นต้น 3.ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ และไม่สามารถแยกเป็นประเภทต่างๆได้ เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟอล์ยที่เปื้อนอาหาร เป็นต้น 4.ขยะพิษ/อันตราย ถือเป็นขยะอันตรายที่จำเป็นต้องแยกทิ้งต่างหาก เนื่องจากสมบัติทางกานภาพ เคมี และชีวภาพ ได้แก่ สารเคมี วัตถุมีพิษ ซากถ่านไฟฉาย หลอดไฟ กระป๋องฉีดสเปรย์ และขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาล ขยะทั้ง 3 ประเภทข้างต้นทำให้ต้องทิ้งเพื่อให้รถมาเก็บขนไปทำลายหรือกำจัดต่อไปถ้าเราทุกคนตระหนักถุงความสำคัญของการคัดแยกขยะ ให้คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เพื่อความเป็นระเบียบอย่างเดียวเพราะการแยกขยะในบ้านที่มีทั้งกระดาษ พลาสติก แก้วโลหะ เศษอาหารหรือแม้แต่ขยะมีพิษมีประโยชน์มากกว่าที่คิดเอาไว้เสียอีก ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 เห็นชอบแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559 - 2564) และให้กระทรวงมหาดไทยบูรณาการร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการจัดทำแผนปฏิบัติการระยะสั้น 1 ปี และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 ได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการ ประเทศไทยไร้ขยะ ตามแนวทาง ประชารัฐ ระยะ 1 ปี (พ.ศ.2559 - 2560) กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอย จังหวัดสะอาด เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้สามารถจัดการขยะมูลฝอยได้ด้วยตนเอง ภายใต้ความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคศาสนา ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคม โดยยึดหลักการ 3Rs คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยในภาพรวมของประเทศลดลงร้อยละ 5 จากอัตราการเกิดขยะมูลฝอย
ข่าว ณ. วันที่ 20 พ.ย. 2566 เวลา 09.39 น. โดย คุณกาญจนาพร แสงนวล
ผู้เข้าชม 19 ท่าน